หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25501301102125
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Information Technology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Information Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc.(Information Technology)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีความเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิ การหรือเทียบเท่า
2) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการ และ ก.พ. ให้การรับรอง
3) มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นผู้ที่มีโรคติดต่อร้ายแรง
4) มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี และพร้อมที่จะปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
5) คุณสมบัติอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ปรัชญาของหลักสูตร
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตมืออาชีพที่มีความรู้ มีความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อรองรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล สามารถประยุกต์งานด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การสื่อสารข้อมูล และการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถสื่อสารและ
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณที่สอดคล้องกับวิชาชีพ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) มีความรอบรู้และมีทักษะพื้ นฐานเพื่ อบูรณาการความรู้ที่ทันสมัยในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) เข้าใจบทบาท องค์ประกอบและข้อกำหนดของระบบสารสนเทศในองค์กร
3) มีความสามารถในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้งานในด้านต่าง ๆ
4) มีความสามารถในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง
5) ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น
พร้อมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมต่อสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Programmer)
2) นักพัฒนาด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ (BI Developer)
3) นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer)
4) ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ (Online Business Entrepreneurs)
5) นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (Computer Technical Officer)
6) ผู้ดูแลงานระบบคอมพิวเตอร์ (IT Support)
7) นักพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT Developer)
8) นักพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Database Developer)