หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25591301101001
ภาษาไทย : หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Health Program in Community Public Health
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อย่อ (ไทย) : ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Public Health (Community Public Health)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.P.H. (Community Public Health)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 137 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่มีความเข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า
2) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากสถาบันที่ กระทรวงศึกษาธิการและ ก.พ. ให้การรับรอง
3) มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นผู้ที่มีโรคติดต่อร้ายแรง
4) มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดีและพร้อมที่จะปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย
5) คุณสมบัติอื่นที่ มหาวิทยาลัยกำหนด
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งสร้างบุคลากรทางด้านสุขภาพให้มีความรู้ ความสามารถในงานสาธารณสุข คิดวิเคราะห์การนำความรู้ และทักษะทางสาธารณสุขไปใช้ในการให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยเน้นให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่องานสาธารณสุขอันจะน ามาซึ่งสุขภาวะที่ดี
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
1) มีความเป็นพลเมืองดีมีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพสาธารณสุข
2) มีความรู้ความเข้าใจ ทางด้านสาธารณสุขการบริการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ สามารถให้บริการปฐมภูมิ แก่บุคคลแบบองค์รวมได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น
3) สามารถกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ
4) สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข
5) เป็นผู้นำทางด้านสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพที่ดี สามารถช่วยประสานการบริการปฐมภูมิกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการสุขภาพ
6) เป็นผู้เรียนรู้ ฉลาดรู้ มีปัญญา เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก สามารถสร้างโอกาสและเพิ่มมูลค่าในการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ
7) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการในการพัฒนาสุขภาพ จัดบริการหรือกิจกรรมพัฒนาสุขภาพ บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพของสังคมตามบริบทของพื้นที่
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิชาการสาธารณสุขเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรคในโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ หน่วยบริการปฐมภูมิ และสถานบริการสาธารณสุขชุมชนในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2) ผู้ประกอบธุรกิจสุขภาพ ได้แก่ ธุรกิจการดูแลสุขภาพที่บ้าน ธุรกิจเสริมความงาม และธุรกิจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น
3) นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ที่ปรึกษา ในหน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน
4) อาชีพอิสระด้านสาธารณสุข และการส่งเสริมสุขภาพ